สาระน่ารู้

หน้าหลัก / สาระน่ารู้

ประเภทของแชรเดอเลียร์ Chandelier

แชนเดอเลียร์หรือโคมระย้า เป็นของตกแต่งเพดาน ในอดีตเป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นจากไม้ ใช้เทียนให้แสงสว่าง ซึ่งพบเห็นได้ตามโบสถ์ต่าง ๆ หลังจากนั้นดีไซน์ของแชนเดอเลียร์ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบและขนาด เพื่อให้เข้ากับบ้านสมัยใหม่และใช้กับหลอดไฟได้

ประเภทของแชนเดอเลียร์
- Antler Chandeliers แชนเดอเลียร์ทรงเขากวาง ทำจากยางไม้ เหมาะสำหรับตกแต่งบ้านสไตล์รัสติก หรือคันทรี แต่ก็ปรับใช้กับบ้านสไตล์คอนเทม โพรารีและโมเดิร์นเช่นกัน

- Bowl Chandeliers  โคมของแชนเดอ
เลียร์ประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายถ้วยวางหงายส่วนใหญ่จะใช้ หลอดไฟเพียงหลอดเดียว

- Cage Chandeliers โคมของแชนเดอเลียร์ ที่มีลักษณะเหมือนกรง มีหลากหลายรูปทรง
ทั้งทรงเรขาคณิต ทรงโค้ง หรือมีการคัดเป็นรูปร่างอื่น ๆ ที่มีความอ่อนช้อย สวยงาม

- Candle Chandeliers แชนเดอเลียร์เลียนแบบสไตล์ ดั้งเดิม เพียงแต่มีการปรับดีไซน์เชิงเทียนให้เหมาะกับการใช้หลอดไฟแทนเทียนไขนั่นเอง

- Crystal Chandeliers แชนเดอเลียร์ที่ทำจากคริสตัล เป็นรูปแบบที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ให้ความรู้สึกถึงความหรูหรา อลังการ ปัจจุบัน มีหลากสี หลายสไตล์ และใช้วัสดุอื่นผสม

- Drum Chandeliers แชนเดอเลียร์ทีมีโคมครอบทรงกระบอก ทำจากผ้า โลหะ หรือ
วัสดุอื่น ๆ ส่วนด้านในก็มีทั้งแบบใช้หลอดไฟ
หลายหลอดและหลอดไฟหลอดเดียว

- Empire Chandeliers แชนเดอเลียร์สไตล์ฝรั่ง เศสคลาสสิก (Classic French Style) ประดับด้วยสายคริสตัลมาก มาย เหมาะสำหรับ
ตกแต่งห้องเพื่อเพิ่มความหรูหรา

- Flush Mount Chandeliers
แชนเดอเลียร์แบบไม่มีก้านแขวน ติดตั้งกับโดยตรง เหมาะกับการตกแต่งในห้องที่มีเพดานต่ำ
- Lantern Chandeliers
แชนเดอเลียร์ดีไซน์แบบโคมไฟ ตกแต่งรอบโครงเหล็กด้วยกระจก แต่บางรุ่นก็ไม่มี

- Linear Chandeliers แชนเดอเลียร์ที่มาในรูปแบบโครงเหล็ก ล้อมหลอดไฟด้วยกรอบทรง สี่เหลี่ยมมุมฉากหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมาะสำหรับ ติดตั้งไว้เหนือโต๊ะกินข้าวหรือบาร์

- Mini Chandeliers
แชนเดอเลียร์ขนาดเล็ก เหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด เช่น ห้องทำงาน หรือมุมกินข้าว

-Orb Chandeliers
แชนเดอเลียร์ที่มีการซ้อนโครงเหล็กวงกลมไว้หลาย ๆ วงในอัน
เดียวกัน เข้ากับการตกแต่งบ้านได้หลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ลอฟท์หรือโมเดิร์น

-Sputnik Chandeliers แชนเดอเลียร์ที่ตั้งชื่อ ตามดาวเทียมดวงแรกของโลก ประกอบด้วยกิ่งหลอดไฟหลายดวง มีความสวยงาม แถมยังดูเป็นเอกลักษณ์

-TeardropChandeliers แชนเดอเลียร์ที่มีช่วงบนกว้าง ช่วงล่างแคบ ส่วนใหญ่ตกแต่งด้วยแท่งคริสตัล ดีไซน์เรียบหรู

-Tiffany Chandeliers แชนเดอเลียร์ที่ตั้งตามชื่อของกระจกสีที่ออก แบบโดย Louis Comfort Tiffany เจ้าของทิฟฟานี่ สตูดิโอ ในนิวยอร์ก ช่วงต้น ค.ศ. 1900 ปัจจุบันมีการดัด แปลงด้วยการเปลี่ยนไปใช้กระจกประเภทอื่นๆ เช่น สเตนกลาส เป็นต้น


21 July 2020 1619

คุณรู้หรือไม่ว่า..หลอดไฟแต่ละสี สร้างบรรยากาศ ความรู้สึก และ

คุณรู้หรือไม่??
ว่าหลอดไฟแต่ละสีนั้นสามารถสร้างบรรยากาศ ความรู้สึก และอารมณ์ต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกผ่อนคลาย อบอุ่น โรแมนติก ซึ่งสีของแสงไฟสามารถวัดเป็นค่าอุณหภูมิได้ เรียกว่าหน่วยเคลวิน จะไล่ในระดับเริ่มต้นจากแสงโทนส้ม ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ไปจนถึงระดับค่าอุณหภูมิสูง มักจะเป็นโทนสีฟ้าที่ให้ความรู้สึกสดใส ช่วยปลุกร่างกายให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า

หลอดไฟ Warm White มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 2500-3300 เคลวิน ให้แสงในโทนส้ม ช่วยให้รู้สึกถึงความอบอุ่น

หลอดไฟ Cool White มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 4000 เคลวิน ให้แสงขาวสว่างสดใสในโทนอุ่น อยู่ในช่วงกึ่งกลางระหว่าง Warm White และ Daylight White

หลอดไฟ Daylight White มีอุณหภูมิสีอยู่ที่ 6000-6500 เคลวิน ให้แสงขาวในโทนฟ้า สว่างสดใส ช่วยกระตุ้นร่างกายให้กระปรี้กระ เปร่า ไม่ง่วงนอนง่าย


21 July 2020 1458

เช็คก่อนช็อต

สัญญานเตือน ไฟฟ้าในบ้านกำลังรั่ว

1. ค่าไฟสูงขึ้นผิดปกติ
2. เครื่องตัดไฟ ตัดไฟบ่อยครั้ง
3. สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วรู้สึกว่าไฟดูด
4. อุณหภูมิในบ้านสูงขึ้นผิดปกติ

เพื่อความปลอดภัยควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน มอก. ในการผลิต และควรตรวจเช็คระบบไฟฟ้าภายใน


21 July 2020 1478

ค่า IP คืออะไร?

  IP ย่อมาจาก Ingress Protection Ratings คือ มาตรฐานการป้องกันน้ำและฝุ่น

  ค่า IP จะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก คือ รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IP XY โดยที่ค่า XY ดังกล่าวแทนค่าด้วยตัวเลข 2 หลัก เช่น IP65, IP67, IP68 เป็นต้น

  ตัวเลขหลักที่ 1 (X) หมายถึง ระดับการป้องกันของแข็งที่อาจสามารถผ่านเข้าไปในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ของฝุ่นหรือการสัมผัสโดยบังเอิญเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระแทกจากของแข็งซึ่งการทนต่อแรงกระแทกนั้น โดยการป้องกันของแข็งจะมีทั้งหมด 7 ระดับ ซึ่งจะมีค่า 0 - 6

  ตัวเลขหลักที่ 2 (Y) หมายถึง ระดับการป้องกันของเหลว (Liquids Object) ซึ่งของเหลวในที่นี้คือน้ำเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ของเหลวชนิดอื่นๆ มีการป้องกันทั้งหมด 9 ระดับ ซึ่งจะมีค่า 0 - 8


21 July 2020 1526

6 เหตุผลที่่ควรเปลี่ยนมาใช้ LED

1. ประหยัดเงิน
หลอดLED ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเงินค่าไฟฟ้าได้ 15-75%

2. ไม่มีแสง UV
หลอดLED ไม่มีแสง UV ปลดปล่อยออกมาเลยแม้แต่น้อย เมื่อเทียบกับหลอดไฟนีออน ที่จะมีแสง UV ปล่อยออกมาพร้อมกับแสงสว่างที่เกิดขึ้น นอกจากรังสี UV นี้จะมีผลต่อผิวหนังมนุษย์แล้ว ยังมีผลกระทบต่อสินค้าที่โดนแสงอย่างต่อเนื่องยาวนานอีกด้วย

3. ไม่ร้อน
หลอดLED แทบจะไม่ปล่อยความร้อนออกมาเลย จึงช่วยทำให้ลดค่าไฟที่ต้องใช้ในระบบปรับอากาศลงได้

4. หลอดไฟ LED ทนต่อการสั่นสะเทือน ยกตัวอย่างเช่น ลิฟต์ จะติดไฟประเภทแอลอีดี เพราะลิฟต์มีเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา การใช้หลอดไฟแอลอีดีทำให้ลดโอกาสการเสียของหลอดไฟได้มากขึ้น ไม่ต้องมีเปลี่ยนหลอดไฟถี่เท่าเดิม

5. แสงจากหลอดไฟ LED ไม่กระพริบ
จึงเป็นแสงที่มีคุณภาพที่ดี เหมาะสมในการทำงานที่ต่อเนื่อง และยังผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอีกด้วย

6. ออกแบบทิศทางของแสงจากหลอดไฟ LED ให้หมาะสมกับรูปแบบโคมได้ เนื่องจากแอลอีดี  มีทิศทางการส่องสว่างแบบเป็นท่อ ไม่ได้กระจายออกทุกทิศทาง ทำให้สามารถออกแบบตัวหลอดให้เหมาะสมกับโคม โดยไม่ปล่อยแสงไปในทิศทางที่ไม่ต้องการได้


21 July 2020 1492

เปรียบเทียบสวิตช์ไฟ Initio VS Refina จาก Panasonic

เป็นที่นิยมกันมาพักใหญ่สำหรับ สวิตช์ปลั๊ก Panasonic รุ่น Refina (เรฟิน่า)
ตอนนี้ Panasonic ได้ออกสวิตช์ปลั๊กหน้ากาก รุ่นใหม่ล่าสุด รุ่น Initio (อินนิชิโอ)

สองรุ่นนี้มีดีไซน์ที่ทันสมัย เข้ากับการตกแต่งบ้านหลายสไตล์ทั้ง โมเดิร์น มินิมอล ลอฟ ร่วมสมัย ฯลฯ
แต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบให้ดูค่ะ

สี
Refina จะมีสีให้เลือกมากว่า Initio

ผิววัสดุ

Refina ผิวเงาเมทัลลิค 

Initio ผิวด้านทันสมัย

Refina
- ผิวของหน้ากากและสวิชต์เรียบ ทำสีเมทัลลิค เวลามองเผินๆจะมีความเหลือบวาวคล้ายๆโลหะ
- ผิวของเต้ารับหรือปลั๊กเป็นผิวเงา

Initio
- ผิวของหน้ากากและสวิชต์ผิวด้าน สัมผัสหยาบเล็กน้อย
- ผิวของเต้ารับมีความด้านกว่ารุ่นRefina และ Wide Series เพียงเล็กน้อย ต้องเอามาเทียบใกล้ๆถึงจะเห็นความแตกต่าง

ดีไซน์และรูปทรง
- ทั้ง 2 รุ่นมีขนาดเท่ากัน ใช้ร่วมกับบ็อกฝังขนาด 2x4 นิ้ว เป็นขนาดมาตราฐานที่ใช้กันทั่วไป

 

Refina
หน้ากากและสวิตช์ เป็นสีเมทัลลิค มี 7 สี
1. Metallic Pearl White (MWZ) สีขาวมุก
2. Metallic White (MW) สีขาวเทา
3. Metallic Gray (MH) สีเทาเข้ม
4. Metallic Black (MB) สีดำ
5. Metallic Gold (MY) สีทอง
6. Metallic Brown (MF) สีน้ำตาลอ่อน
7. Metallic Dark Brown (MA) สีน้ำตาลเข้ม

เต้ารับมี 2 สี
1. Gray (H) สีเทา
2. White สีขาว

 

Initio 
หน้ากาก สวิชต์ เต้ารับ มี 3 สี
1. White สีขาว
2. Gray สีเทา
3. Black สีดำ

TIP:
รุ่น Refina หน้ากากมี 7 สี แต่ตัวเต้ารับมีเพียงแค่ 2 สี แนะนำให้ MIX&MATCH ตามคู่สีด้านล่างจะได้สีที่ดูเข้ากันค่ะ

เต้ารับสีเทา (H) ใช้กับหน้ากาก:
- Metallic Gray (MH) สีเทาเข้ม
- Metallic Black (MB) สีดำ
- Metallic Brown (MF) สีน้ำตาลอ่อน
- Metallic Dark Brown (MA) สีน้ำตาลเข้ม

เต้ารับสีขาว (รุ่น Wide series) ใช้กับหน้ากาก:
- Metallic Pearl White (MWZ) สีขาวมุก
- Metallic White (MW) สีขาวเทา
- Metallic Gold (MY) สีทอง

 

ดีไซน์และรูปทรง
ทั้ง 2 รุ่นมีขนาดเท่ากัน ใช้ร่วมกับบ็อกฝังขนาด 2x4 นิ้ว เป็นขนาดมาตราฐานที่ใช้กันทั่วไป

Refina
- รูปทรงของหน้ากากเป็นทรงเหลี่ยมเรียบง่าย
- ตัวสวิชต์มีแถบสี่เหลี่ยมเล็กๆ ด้วยสีตัดกัน
- โลโก้ Panasonic อยู่บริเวณมุมขวาล่างของหน้ากาก

Initio
- รูปทรงของหน้ากากมีความโค้งมนเล็กน้อยเพิ่มความทันสมัยแต่ยังคงความเรียบง่าย
- ตัวสวิชต์เปิด-ปิดมีขีดนูนเล็กๆตรงกลางเป็นสีเดียวกันทั้งตัว
- โลโก้ Panasonic อยู่บริเวณตรงกลางด้านล่างของหน้ากาก

 

สรุป
ความต่างกันของ Initio VS Refina ในเรื่องของคุณภาพและราคาแทบไม่ต่างกัน
จะต่างกันที่ดีไซน์ล้วนๆ คราวนี้คงต้องมาดูที่การตกแต่งของบ้านและความชอบส่วนบุคคลกันแล้วค่ะ
ชอบแบบไหนลองเลือกดูกันนะคะ

Refina
- มีสีให้เลือกหลากหลาย
- ผิวเรียบ ทำสีเมทัลลิค เหลือบๆคล้ายโลหะ
- ให้อารมณ์แบบเรียบหรูดูแพง
- ใช้ตกแต่งบ้านสไตล์ Modern luxury, Loft, Classic, Comtemporary และแบบอื่นๆ

Initio
- มีครบทุกสียอดนิยม
- พื้นผิวด้าน ดีไซน์ทันสมัย
- ให้อารมณ์แบบมินิมอล คุมโทน
- ใช้ตกแต่งบ้าน คอนโด สไตล์ Minimal, Modern, Loft, Scandinavian และแบบอื่นๆ

 


21 September 2023 1185

มารู้จักกับประเภท และความรู้เกี่ยวกับตู้ไฟฟ้ากันเถอะ

ตู้ไฟแบบ Main Distribution Board (MDB) หรือเรียกว่า สวิทช์บอร์ด (Switchboard)

เป็นตู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายไฟฟ้า อีกทั้งยังรับไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า หรือหม้อแปลงมาจ่ายให้อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องการใช้ไฟฟ้า มีความทนทานทั้งจากแรงดัน ความร้อน รวมไปถึงการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมี รวมไปถึงโครงตู้ที่แข็งแรงมีคุณภาพ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับตู้ไฟสวิทช์บอร์ด ซึ่งจะทำให้เราปลอดภัยจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การถูกไฟดูด และป้องกันความเสียหายของเครื่องมือไฟฟ้าภายในจากสาเหตุต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นเราควรเลือกใช้ตู้ไฟสวิทช์บอร์ดที่มีคุณภาพดี

 

สรุปแล้ว ตู้ไฟสวิชบอร์ด หรือ MDB (Main Distribution Board) คือ แผงควบคุมระบบกระแสไฟฟ้าหลักขนาดใหญ่ โดยหลักการทำงาน ของ ตู้สวิตซ์ประธาน เป็นด่านแรกในการรับไฟฟ้าแรงดันต่ำจาก หม้อแปลงไฟฟ้า แล้วจึงจ่ายไฟไปในส่วนต่าง ๆในอาคาร มักถูกใช้ในอาคารขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ จนถึงโรงงานอุตสาหกรรม มักรู้จักกันในชื่อ ตู้ MDB และ มีอุปกรณ์วงจรตัดไฟเรียกว่า Circuit Break เอาไว้ตัด แหล่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อป้องกันวงจรจากกระแสไฟเกิน ป้องกันสายไฟจากความร้อนสูงเกินไป

 

โดยที่สวิทช์บอร์ดจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลายๆอย่าง เช่น บัสบาร์ (Busbar), เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter), เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) และอุปกรณ์เสริมต่างๆ (Current Transformer, Selector Switch, Pilot Lamp, Fuse, Insulation)

 

 

ตู้ SDB (Sub Distribution Board) หรือตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าระบบย่อย

มีหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้า เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังตู้อื่น หากอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งการทำงานเป็นสัดส่วน เมื่อเกิดเหตุการณ์แก้ไขซ่อมบำรุงเครื่องจักร หรือ การจัดระบบไฟฟ้าถ้าหากมีตู้ SDB ก็สามารถทำได้ทันที โดยตัดไฟตู้ SBD บริเวณนั้น แต่บริเวณส่วนอื่น ของอุตสาหกรรมก็ยังใช้กระแสไฟฟ้าได้ปกติ ดังนั้นจึงเป็นส่วนดีในการติดตั้งระบบกระแสไฟฟ้าย่อย

 

ตู้ Panel Board (PB) หรือ ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) 

เป็นตู้ที่เปิดปิดฝาได้มีหลายขนาด เหมาะสำหรับการควบคุมไฟฟ้าในอาคารขนาดกลาง ถึง ขนาดใหญ่ รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรม  มีแผง Circuit breaker อยู่ภายใน ที่ใช้ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ 

 

ตู้ LP (Load Panel)

เป็นตู้ที่มีสวิทช์ใช้ควบคุมส่วนของวงจรไฟฟ้าย่อยใช้ควบคุมไฟในห้องที่ต้องการควบคุม Load Panel จะมี เซอร์กิตเบรกเกอร์ หลายตัว วางเรียงกันอยู่ในกล่อง ส่งผลให้ มีขนาดเล็ก  ในบ้างอาคาร อาจใช้ Load Panel ควบคุม แทน SDB

 

ตู้ Load Panel แบ่งได้ดังนี้

1) Load Panel 3 Phase เรียกว่า Load Center , LP เป็นแผง เซอร์กิต เบรกเกอร์ ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าสู้เครื่องใช้ไฟฟ้า

2) Load Panel 1 Phase เรียกว่า Consumer Unit , CU เป็นแผงไฟฟ้าสำเร็จรูปนิยมใช้ในบ้าน หรืออาคารที่มีขนาดเล็กที่ใช้ระบบไฟ 1 เฟส 220 โวลต์

 

ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) เป็นประเภทย่อยของตู้ Load Panel แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

 

  1. แบบ Main Lugs เป็นตู้โหลดที่ไม่มี เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ซึ่งมักจะต้องใช้คู่กับเซฟตี้สวิชต์ (Safety Switch) เพื่อความปลอดภัย มีหลายแบบตามจำนวน Pole (1-3) และตามความทนทานของตัวบัสบาร์ และไม่ควรเลือกใช้เกิน หรือมากไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของความทนกระแส
  2. แบบ Main Circuit Breaker หรือ ตู้โหลดแบบที่มีเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นตัวตัดไฟ เป็นแบบ MCCB (Molded Case Circuit Breaker) 3 pole โดยจะควบคุมกระแสไฟฟ้าผ่านบัสบาร์ ไปหา MCB (Miniature Circuit Breaker) หรือเบรกเกอร์ลูกย่อย ที่เรามักคุ้นเคยกันเวลาใช้งานกับไฟบ้าน และเช่นกัน ไม่ควรเลือกใช้งานเกินไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของความทนกระแส

09 October 2023 1099